rss
email
twitter
facebook

วันจันทร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

PROGRAM: 3.3 || Great Architect pop-up ||



      โปรแกรมที่ 3.3 เป็นการออกแบบและสร้างงาน 3 มิติ โดยการจัดองค์ประกอบของจุด เส้น ระนาบ(Dot,Line,Plane) โดยเลือกจากผลงานของสถาปนิกชื่อดัง เพื่อฝึกทักษะในการใช้สีและการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม


Le Corbusier


หลักจากผ่านการออกแบบผลงานตามแนวคิดต่างๆก็ได้ออกมาเป็นผลงานดังนี้ 




PROGRAM: 2.3 || Knowing Some Great Architects III :Frank Lloyd Wright ||





         โปรแกรมที่ 2.3 นี้ยังเป็นโปรแกรมสืบเนื่องมากจากโปรแกรมที่ 2.1 โดยใช้ทักษะในการสร้างงานทัศนศิลป์ 2 มิติจากองค์ประกอบในความนึกคิด (Conceptual Elements ) และองค์ประกอบที่มองเห็น (Visual Elements ) โดยอาศัยการจัดองค์ประกอบของจุด เส้น และระนาบ


           ชิ้นงานที่ 1 จัดองค์ประกอบโดยใช้รูปร่าง ประเภทรูปที่มีด้านเป็นเส้นตรง โดยใช้เทคนิคการจัดองค์ประกอบแบบ การขัดแย้ง



            ชิ้นงานที่ 2 จัดองค์ประกอบโดยใช้รูปร่าง ประเภทรูปที่มีด้านเป็นเส้นตรง โดยใช้เทคนิคการจัดองค์ประกอบแบบ ความหนาแน่น






PROGRAM: 2.2 || Knowing Some Great Architects II :Frank Lloyd Wright ||

          โปรแกรมที่ 2.2 เป็นโปรแกรมสืบเนื่องมาจากโปรแกรมที่ 2.1 โดยใช้ทักษะในการสร้างงานทัศนศิลป์ 2 มิติจากองค์ประกอบในความนึกคิด (Conceptual Elements ) และองค์ประกอบที่มองเห็น (Visual Elements) โดยอาศัยการจัดองค์ประกอบของจุด เส้น และระนาบ

          งานชิ้นที่ 1 ออกแบบและสร้างผลงาน 2 มิติ ด้วยการจัดองค์ประกอบ 3 องค์ประกอบได้แก่ จุด(Dot) เส้น(Line) และระนาบ(Plane)



           งานชิ้นที่ 2 ออกแบบและสร้างผลงาน 2 มิติ ด้วยการจัดองค์ประกอบโดยเลือกใช้ ระนาบ และเทคนิคการจัดแบบการซ้ำ



*งานชิ้นนี้ไม่สื่อถึงแนวคิดและภาพต้นแบบเท่าที่ควร*


วันพุธที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

PROGRAM: 2.1 || Knowing Some Great Architects I :Frank Lloyd Wright ||

 

     จุดประสงค์ของงานนี้คือการวิเคราะห์ภาพของผลงานสถาปนิกชื่อดัง และทำการออกแบบ สร้างผลงาน 2 มิติโดยใช้องค์ประกอบต่างๆ

งานชิ้นที่ 1 : ออกแบบและสร้างผลงานโดยใช้องค์ประกอบจุด (Dot)

                    จัดองค์ประกอบโดยใช้จุดที่มีลักษณะของขนาด แตกต่างกันไปเพื่อสร้างจุดแตกต่างให้กับภาพ ไม่ให้กลมกลืนกันมากเกินไป

งานชิ้นที่ 2 : ออกแบบและสร้างผลงานโดยใช้องค์ประกอบเส้น (Line)

จัดองค์ประกอบโดยใช้เส้น เชื่อมต่อๆกันให้เกิดเป็นรูปร่างขึ้นมา

งานชิ้นที่ 3 :    ออกแบบและสร้างผลงานโดยใช้องค์ประกอบระนาบ (Plane)

จัดองค์ประกอบโดยใช้ลักษณะของระนาบแต่ละอัน มาวางต่อกัน


มุมขอพูดคุยค่า : งานนี้เป็นงานแรกที่สั่งในคาบทำในคาบ เป็นอะไรที่ทำให้เสียสติมาก ฮ่าๆ แบบว่ามันไม่ทันแล้ว ชอบบรรยากาศการทำงานนี้มากๆเลย ถึงมันจะเครียด มันจะกดดันก็เถอะ แต่พอเพื่อนๆเริ่มเครียดแล้วสติแตกใส่กัน มันเป็นอะไรที่ฮาสนุกมากมาย ถึงจุดๆนึงที่เริ่มเครียด ก็จะเริ่มตะโกนด่ากันเอง เห็นน้ำใจเพื่อนกันด้วย 
                            อ่าว นอกเรื่อง มาดูกันที่ผลงานดีกว่าค่ะ งานแต่ละงานก็ตามสภาพเวลา แต่ที่แย่กว่านั้นคือแอบเข้าใจผิด แบบว่างงๆ กลายเป็นไปลดทอนรายละเอียดของผลงานสถาปนิก เพราะคำว่าออกแบบในใบโปรนี่แหละ ออกแบบต้องเป็นอะไรที่ไม่เหมือนของเดิมสิ ฮือๆ //พยายามโทษ แต่ก็ตีความผิดเองอยู่ดี ฮาๆ แต่อย่างน้อยก็โชคดีที่ไม่ได้ F ถึงแม้เกรดจะออกมา CDC ก็เถอะ แหม หรูนะ เข้ากับชื่อ Crystal Design Center เลย ฮ่าๆ

                           สารภาพจริงๆงาน dot ที่โชว์อยู่คืองานที่ไขข้องความเข้าใจผิดแล้ว แล้วเป็นงานรีเกรดถึงได้ออกมาต่างจากงานสองชิ้นที่เหลือ ฮาๆ แต่จะแปะภาพสภาพงาน dot ตอนแรกเล็กๆไว้ล่ะกัน 

แหม..เลิศล่ะสิ เสียดายไม่ได้เอาขึ้น facebook  : ))


PROGRAM: 01 || MY ARCHITECT My Journey ||

   
     งานโปรแกรมที่ 1 งานแรกมีจุดประสงค์ให้เราได้ทำความรู้จักกับสถาปนิก/ภูมิสถาปนิกต้นแบบที่หลากหลาย ทั้งในประเทศและต่างประเทศ และถ่ายทอดออกมาผ่านแนวคิดเป็นผลงาน 3 มิติ ก่อนจะนำเสนอผลงานที่สื่อถึงงานสถาปนิกต้นแบบ ผ่านรูปแบบแนวคิดของตัวนิสิตเอง

สถาปนิกต้นแบบ : fumiaki takano [Takano Landscape Planning]

     งานชิ้นนี้ ตั้งใจสื่อแนวคิดรูปแบบการทำงานของ Takano Landscape Planning ซึ่งมีรูปแบบการทำงานที่รู้สึกได้ถึงความเอาใจใส่และความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม โดยงานของ Takano Landscape Planning สามารถดึงความงดงามที่เป็นเอกลักษณ์ของพื้นที่นั้นๆ โดยใช้วัสดุประจำท้องถิ่นสะท้อนวัฒนธรรมประเพณีของสถานที่นั้นออกมาได้อย่างชัดเจน อาศัยความร่วมมือของคนในท้องถิ่นที่เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างสรรค์งานด้วย ทำให้งานของเขาสามารถตอบสนองต่อความต้องการของคนในพื้นที่นั้นๆได้ครบครัน    

     รูปแบบผลงาน 3 มิติ เริ่มจากฐานเป็นสีวัสดุธรรมชาติ มีหินสีอยู่รอบๆที่เปรียบเสมือนวัสดุท้องถิ่นทั่วไปและหลักประจำทิศทั้ง 4 หลักที่เปรียบเสมือนคนในท้องที่นั้นๆ ถูกโยงด้วยเชือกเข้าด้วยกันเหมือนกับความร่วมมือ และสุดท้ายกระจกตรงกลาง 4 ทิศ ที่สามารถสะท้อนทั่วทุกด้านเปรียบเสมือนตัวของสถาปนิกเอง ที่สามารถสร้างความสวยงามและยังสะท้อนถึงเอกลักษณ์ วัฒนธรรมความเป็นอยู่ในพื้นที่ ถึงแม้จะเข้าไปแก้ไข แต่ก็ไม่ได้ทำให้กลิ่นอาย และบรรยากาศของความเป็นสถานที่แห่งนั้นหายไป ตรงข้ามกัน ยังสามารถดึงความเป็นเอกลักษณ์ศิลปะประจำสถานที่นั้น สะท้อนออกให้ชัดเจนและงดงาม

                       
มุมพูดคุยเล็กน้อยค่า    :  เป็นงานที่ทำด้วยสภาพร่างกายและจิตใจตกต่ำถึงขีดสุดเลยล่ะค่า ! แบบว่าป่วยมากๆ แถมยังเครียดกับการปรับตัวหลายๆอย่างอีก โชคดีที่ตอนนั้นคุณพ่อมาเยี่ยมพอดี เลยด่ากลับมาให้ทำงานได้ แต่งานก็ออกมาผิดจากที่ตั้งใจไว้มากเหมือนกัน แบบว่า เอาตรงๆทื่อๆแต่ให้ได้ความหมายอย่างเดียวล่ะกัน อารมณ์นั้นเลย พลีชีพสุดๆ

แต่ถ้าดูจากสภาพตัวเองที่สุดเฉาในชณะนั้น ก็โอเคกับงานนี้แล้ว แถมอาจารย์ยังจัดให้ในกลุ่มกลางๆ แบบไม่น่าเชื่อ OwO

สารภาพเล็กน้อย ด้วยความที่ป่วยต้องการการนอนอย่างมาก งานนี้เลยใช้เวลาเพียงประมาณ 30 - 45 นาที ก็ควรจะเป็นอย่างนั้นอยู่หรอกจากสภาพงาน ฮ่าๆ XD