rss
email
twitter
facebook

วันอังคารที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2555

FINAL PROJECT ll ศิลป์พำนัก รักษ์เกาะเกร็ด ll

             วัตถุประสงค์       เพื่อให้นิสิตฝึกฝนในการออกแบบสถาปัตยกรรมและภูมิทัศน์สำหรับที่พักอาศัยขนาดเล็ก ที่เหมาะสมกับประเภทและพฤติกรรมของผู้ใช้สอยอาคาร และมีความสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่ตั้งโครงการ โดยทำการวิเคราะห์ข้อมูลจากโปรแกรมสังเคราะห์และตั้งสมมุติฐาน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการออกแบบที่ว่างทางสถาปัตยกรรม สามารถดำเนินการออกแบบร่างขั้นต้นและพัฒนาไปจนกระทั่งเป็นแบบขั้นสุดท้ายได้


             ผ่านพ้นจากโปรเจ็ค Shop house โปรเจ็คที่เหมือนสนุก(แต่ไม่สนุกอย่างที่คิด) มาถึง Final Project ศิลป์พำนัก รักษ์เกาะเกร็ด ให้ระยะเวลาในการทำงานนานมาก

             มีให้ไปทัศนศึกษาถึงสองที่ด้วยกันได้แก่ V64 เพื่อไปเก็บความรู้ในเรื่องของประติมากรรมต่างๆหลากหลายประเภท รวมถึงพฤติกรรม และกิจกรรมของจิตกรผู้สร้างประติมากรรมที่ต้องการพื้นที่ใช้สอยที่เหมาะสำหรับการสร้างสรรค์ผลงาน การเก็บข้อมูลได้มาพอสังเขปดังนี้

                โครงสร้างตัวบ้าน         
                         
                            -  สูง  <<<เพื่อที่จะได้รับแสงเข้ามา (แสงจำลอง-->ติดตั้งแสง ex. ส่องของใต้)

                            -  กว้าง <<<พื้นที่ว่าง

                            -  ทึบบ้าง/โปร่งบ้าง >> เพื่อแขวนภาพวางผลงาน/เพื่อรับวิว 

                            -  โครงสร้างแข็งแรง <<<รับน้ำหนักของประติมากรรมได้จริง

                พื้นฐานความเป็นอยู่และทำงาน

                             -  อากาศ ให้เหมาะสม ลมไม่แรงเกินไป แดดไม่แรงเกินไป ไม่มีฝุ่น ถ่ายเทดี (เพื่อการสร้างงานเพราะติดเครื่องปรับอากาศไม่ได้ จะจำกัดกับงานบางประเภท)

                             -  ซักล้าง สำคัญใช้ในการแก้งาน ล้างอุปกรณ์ ต้องมีพื้นที่

                             -  พื้นที่ทำงาน ทำสกปรกได้ไม่ต้องทำความสะอาด หรือทำเลอะแล้วไม่เสียหาย

             
                 เมื่อวิเคราะห์ในส่วนของ user ของศิลปินที่มีความหลากหลายและมีกิจกรรมที่ต้องใช้พื้นที่และลักษณะเฉพาะพิเศษเสร็จสิ้น ก็มาวิเคราะห์ในส่วนของผู้อยู่อาศัยที่เป็นครอบครัวของท้องถิ่นให้ศิลปินมาพักผ่อน
         
                 การทัศนศึกษาครั้งต่อไปคือสถานที่ที่ได้รับเป็นโจทย์อยู่ใน เกาะเกร็ด ได้เข้าไปศึกษาสถานที่โดยการสัมภาษณ์คนที่อาศัยอยู่ ศึกษาเส้นทางของเกาะเกร็ด และดูบริบทวงกว้างจากการล่องเรือ ได้รับโจทย์เป็น site 2 ติดกับแม่น้ำใหญ่

                 หลังจากนั้นก็เริ่มส่งบทวิเคราะห์ของuserและsite เพื่อพัฒนาเป็นแบบบ้านต่อไป



        แมสโมเดลตอน sub jury

                  หลังจากที่ตรวจ sub jury โดนแก้ไขในเรื่องทางเดิน และห้องน้ำ(มีปัญหาตั้งแต่วางแปลนครั้งแรกและอนาคตก็ยังมีต่อไปอีกเรื่อยๆ เครียด) แต่โดยรวมไม่โดนแก้ในรื่องฟอร์มหรือรูปแบบการวางห้องของบ้าน เพราะทำแมสไม่เหมือนแปลน ต่อกลับกลายเป็นทางเดินที่ใส่แค่ทางเดียวของแมสทำให้ทิศทางการเข้าถึงดูชัดเจนและไม่สับสน

                              

                    ตรวจแบบต่อได้ไม่นาน ก็เริ่มทำผลงานที่จะจูรี่จริง!



                  รวบรวมผลงาน jury
















 แบบจำลอง



                   





             งานนี้ออกมาตั้งใจให้คอนเซ็ปคือ ที่ว่างภายในไหลออกสู่ภายนอก และภายนอกไหลเข้าสู่ภายในคือให้บริบทของสภาพแวดล้อมธรรมชาติสามารถเชื่อมต่อกับพื้นที่อยู่อาศัยของภายใน บ้านแยกออกเป็นสองส่วนคือ ส่วนของผู้อาศัย และส่วนของศิลปิน เชื่อมต่อด้วยทางเดินที่ล้อมรอบไปด้วยสวนและต้นไม้ แต่ละส่วนของบ้านสามารถรับวิวได้มากเกือบทุกห้อง หรือรับวิวชัดเจนในห้องที่ใช้สอยบ่อยๆ

เนื่องจากวิเคราะห์พื้นที่และบริบทรอบๆแล้ว พอว่าวิวที่สวยงามและดูโปร่งสบายตามากที่สุดอยู่ทางด้านหลังของตัวบ้าน ซึ่งเป็นทุ่งนาโล่งสบาย จึงทำบ้านให้รับกับวิวด้านหลังให้ได้มากที่สุด อีกทั้งปิดในด้านที่ไม่สวยงามเท่าไหร่ งานนี้ตั้งใจวิเคราะห์ไซต์มากจริงๆ แต่กลับทำ site analysis ไม่ทัน (น้ำตาจะไหล)

              นำเสนอแล้ว ก็พบว่ามีปัญหาเรื่องเดิมๆอีกเช่นกันคือ ห้องน้ำ มีปัญหาในเรื่องของที่ตั้งของห้องน้ำไม่เหมาะสม เพราะแขกต้องเข้าไปใช้ในพื้นที่ที่ลึกเกือบจะส่วนตัวของบ้าน ยกตัวอย่างเช่น อย่างนิสิตแบบพวกเราไปทัศนศึกษาต่อแถวใช้เป็นสิบคนก็คงไม่เหมาะสม

              ในเรื่องของพื้นที่ของศิลปิน อาจไม่เพียงพอและติดกับพื้นที่จัดแสดง อาจดูวุ่นวายและไม่สงบ อีกทั้งคนภายนอกสามารถเข้าถึงส่วนของ private ได้ไม่อยาก (แต่จุดประสงค์จริงๆคือ จะจัดให้พื้นที่ของส่วนทำงาน และส่วนของจัดแสดงสามารถใช้งานได้ร่วมกัน โดยมีฉากแบ่งกั้น ถ้าจะใช้ก็พับเก็บ ไม่ใช้ก็กั้นไว้เพื่อความส่วนตัว เพราะศิลปินจะได้สามารถมองภาพผลงานของตัวเองได้ในบริเวณที่กว้าง) แต่กลายเป็นเหมือนไม่ล็อค space จนเหมือนกับ free space มากไป จนเหมือนไม่มีการจัดระเบียบอะไรแน่ชัด

                ครัวของป้าทับทิมที่ไว้พูดคุยกับคนที่แวะมาก็เช่นกัน เพราะการสร้างครัวปิดโดยมีแค่หน้าต่างเหมาะกับร้านค้ามากกว่า แขกที่สนิทในระดับหนึ่ง เพราะเวลาที่ป้าทับทิมอยู่ในครัวทำอาหารทำขนม ถ้าจะตะโกนออกมาคุยกับแขกภายนอกคงลำบากไม่น้อย


ประเมินตนเอง

                 เป็นงานที่เครียดกับ "ห้องน้ำ" มากๆถึงมากที่สุด ทั้งๆที่ยืมหนังสือจากห้องสมุดมาแล้ว ถามคนเยอะแยะมากมาย แต่ก็มีปัญหากับมันตั้งแต่ช่วงแรกถึงช่วงสุดท้าย (ขอเปลี่ยนชื่อบ้านหลังนี้เป็นอาถรรพ์ห้องน้ำ) รู้สึกเครียดเล็กน้อยเพราะพยายามแก้ไขแล้ว แต่ก็ยังพลาดในจุดอีกจุดแทน คือแก้ไขแล้วลืมในจุดสำคัญตรงนี้ตรงนั้นไป แก้ไขได้ไม่เคลียร์ปัญหาหมด
                  งานนี้เป็นงานสุดท้ายทั้งที่ตั้งใจจะทำงานเยอะๆให้มากกว่างานอื่น แต่ก็ทำไม่ค่อยทันอีกแล้ว รู้สึกว่าตัวเองยังคงทำงานช้าเหมือนเดิม ทั้งที่เริ่มเร็วแต่การทำงานช้ามาก เพราะมัวแต่แก้ไข ไม่ค่อยมั่นใจเลยทำอะไรช้าไปหมด แย่จริงๆ คอนเซ็ปต์ของงานนี้ทั้งที่ได้มาแต่ก็ดูงงๆ อธิบายรายละเอียดไม่ได้ดีอีกแล้ว ตอนพรีเซนต์จบคือจบ เกรดจะใกล้หมาหรือเฉียดแมวหรืออย่างไรก็ปล่อยมันไปเถิด น้ำตาจะไหล เอาเป็นว่าเต็มที่แล้วแต่ก็พลาดในจุดที่ตัวเองไม่น่าพลาด มันน่าเสียดายแล้วก็หงุดหงิดตัวเองแปลกๆจริงๆ

PROJECT 2 ll Shop house ll

วัตถุประสงค์

                   - เพื่อให้นิสิตฝึกทักษะการออกแบบโครงการที่เหมาะสมกับผู้ใช้ที่กำหนดและมีความสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่ตั้งโครงการ

                   - เพื่อให้นิสิตฝึกทักษะการออกแบบและการจัดองค์ประกอบ ที่คำนึงถึงความสัมพันธ์ของพื้นที่ว่างภายในพื้นที่กึ่งภายนอก และพื้นที่ว่างภายนอกอาคาร รวมถึงความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมและลำดับการเข้าถึงของกิจกรรมต่างๆ

                  - เพื่อให้นิสิตฝึกทักษะการแบ่งเขตพื้นที่ใช้สอย และการจัดความสัมพันธ์ของพื้นที่ใช้สอยโดยใช้แผนภูมิฟองสบู่ หรือแผนภูมิแสดงความสัมพันธ์ของพื้นที่ใช้สอย


             จบโปรเจ็คแรกไป ก็มาถึงโปรเจ็คที่สอง เริ่มต้นได้น่าสนใจอย่างมาก นั่นคือ "Shop house " เพราะสามารถเลือกทำได้หลากหลาย แต่กำหนดที่ตั้งโครงการไว้ ตรงบริเวณซอย K-ZY PLAZA

             จากการไปสำรวจพื้นที่บริเวณนั้น พบว่ามีร้านอาหารในซอยมากมาย และหอพักนิสิตแทบจะทุกซอย และทุกล็อตของพื้นที่ สังเกตเห็นบางหอมีเครื่องซักผ้าหยอดเหรียญ บางหอก็ไม่มี แต่กับจำนวนนิสิตที่อาศัยอยู่ที่หอบริเวณนี้ กับเครื่องซักผ้า และบริการซักรีด ถือว่าน้อยมากและไม่เพียงพอ จึงตัดสินใจทำ "ร้านซักรีด"

             ตั้งใจทำร้านซักรีด ที่เป็นร้านซักรีดครบวงจรและเสริม คือ บริการ ซัก อบ รีด ซักด่วน ซักแห้ง รีดอย่างเดียว รับซ่อมเสื้อผ้าที่ชำรุด ขายชุดนิสิตและแฮนด์เมดทำมือจากเศษผ้า พอได้ความคิดคร่าวๆ ก็เริ่มหาข้อมูล ศึกษาระบบของร้านซักรีดจากแฟรนไชส์ร้านซักรีดต่างๆ กิจกรรมต่างๆภายในร้าน ผังจัดร้าน รวมถึงระบบการทำงาน ศึกษาอุปกรณ์เสริมในการช่วยซักรีดคร่าวๆ เพื่อนำมาคำนวณเป็นพื้นที่ใช้สอยของแต่ละส่วน

หลังจากผ่านการตรวจแบบไปสองครั้ง ก็ทำแบบแรกออกมา เน้นดีไซน์ที่ก่อให้เกิดความรู้สึกที่เป็นการเคลื่อนที่หมุนของเครื่องซักผ้า ที่จะเหวี่ยงผ้าหมุนไปมาในเครื่อง ทำตึกเป็นทรงกลมในช่วงหน้า และทำระแนงสูง ทำองศาที่ต่างกัน แต่เคลื่อนที่ไปในทิศทางเดียวกัน สำหรับปลูกต้นไม้ รับแสงกันแดด และทำหน้าที่ให้ลมเข้าและออก ส่วนทางหลังเป็นส่วนของเซอร์วิส ที่จะเป็นส่วนของการทำงาน



แปลนของแมสหลังจากพัฒนามา 2 ครั้ง



แต่ไม่ผ่านทั้งหมด ด้วยเหตุผลที่ว่ายังไม่สามารถสื่อคอนเซ็ปได้ชัดเจน อีกทั้งรูปทรงยังเหมือนกับตึกแถวธรรมดา น่าจะสร้างฟอร์มที่น่าสนใจได้มากกว่านี้





จึงเริ่มทำแบบใหม่ทั้งหมดโดยนำเสนอในการตรวจ Final Jury โดยไม่ได้ผ่านการตรวจแบบกับอาจารย์ประจำกลุ่มสักครั้งเดียว ได้ผลงานออกเป็นบ้านที่มีฟอร์มวงกลมหมุนซ้อนกันต่างกันจากการหมุนของเครื่องซักผ้า




บทวิเคราะห์






ผลงานออกแบบ




















หุ่นจำลอง












ชั้น 1

.
 ชั้น 2

ประเมินตนเอง

                  เป็นงานที่หาข้อมูลส่วนที่เป็นระบบของร้านซักรีดมากจนไม่ได้สนรูปแบบของฟอร์ม ทำให้ฟอร์มมีลักษณะธรรมดา ไม่แปลกใหม่ มีเวลาคิดและเวลาการทำงานที่น้อยมาก เนื่องจากมีการตรวจแบบเพียงสามครั้ง และต้องแก้ไขแบบก่อนตรวจ Final Jury จึงไม่สามารถพัฒนางานได้มีประสิทธิภาพตามที่ตั้งใจไว้ แต่ก็คิดว่าสามารถจับคอนเซ็ปต์ได้ชัดขึ้นกว่าเดิม งานครั้งนี้มีข้อเสียข้อติเยอะ แต่ก็จัดอยู่ในเกณฑ์พึงพอใจกับเวลาคิดที่น้อยมาก แต่ต้องรีบทำงานให้ออกมาให้ตรงเวลาที่กำหนด

                  เรื่องฟอร์มคิดว่าเริ่มมาได้ถูกทางแล้ว อาจารย์ให้ความคิดเห็นว่า ถ้าลองเคลื่อนฟอร์มของห้องชั้นบนและชั้นล่างให้เหลื่อมกัน จะได้ฟอร์มที่ดูมีลักษณะเคลื่อนไหวอยู่มากกว่า ดังเช่น










                      อาจจะดีขึ้นก็เป็นได้ เนื่องจากเวลาที่จำกัดทำให้ได้ลืมคิดเรื่องในจุดๆนี้ไป เวลาในการดีไซน์ลูกเล่นความสวยงาม น้อยมากถึงมากที่สุด ถึงจะพอใจที่ทำได้เต็มที่ทั้งที่เวลาคิดน้อย แต่ก็อดเสียดายไม่ได้อยู่ดี


PROJECT 1 ll ต้องรอด ll

วัตถุประสงค์

               -  ฝึกฝนทักษะความเข้าใจในเรื่องสัดส่วนมนุษย์
               -  ฝึกฝนทักษะความเข้าใจในเรื่องที่ว่างภายใน
               -  ฝึกฝนทักษะในการค้นคว้าข้อมูลจากห้องสมุดและสื่อออนไลน์
               -  สามารถวิเคราะห์ที่ว่างทางสถาปัตยกรรมที่สันพันธ์กับพฤติกรรมและสัดส่วนของมนุษย์
               -  ฝึกฝนทักษะการออกแบบสถาปัตยกรรมโครงสร้างไม้ ซึ่งสัมพันธ์กับบริบทแวดล้อม


          เป็นงานโปรเจ็คเริ่มต้นของวิชา Architectural design l งานนี้ต้องการให้ศึกษาเรื่องสัดส่วนของมนุษย์ และที่ว่างของภายใน ให้สัมพันธ์กันกับกิจกรรมและพฤติกรรมในการดำรงชีวิตของตัวนิสิตเอง จากการจำลองสถานการณ์น้ำท่วม
         
           จากนั้นให้ออกแบบเป็นที่พักพิงชั่วคราวให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสถานการณ์น้ำท่วม (โดยที่ไม่มีน้ำประปาและไฟฟ้าใช้)

          จากโจทย์ที่ได้รับมา รู้สึกมีความสนใจและกระตือรือร้นในการทำมาก เนื่องจากเป็นสถานการณ์ที่ประเทศไทยเพิ่งประสบกับมหันตภัยน้ำท่วมครั้งใหญ่ แม้กระทั่งที่มหาลัยเกษตรศาสตร์ก็ท่วมจนต้องเลื่อนเปิดเทอมออกไป จึงไม่แปลกใจที่ได้รับโจทย์นี้เลย

           ได้ทำการค้นคว้าหาข้อมูลในเบื้องต้น ศึกษาความเป็นอยู่ของคนที่ประสบภัยน้ำท่วม เพื่อนำมาประยุกต์ใช้กับการออกแบบในครั้งนี้ (ซึ่งสามารถค้นคว้าข้อมูลได้มากมายเนื่องจากเป็นช่วงระยะที่เพิ่งผ่านพ้นช่วงน้ำท่วมไปไม่นาน อีกทั้งบางแห่งยังท่วมอยู่ จึงได้ข้อมูลมากมายหลายช่องทาง)


         ในส่วนของผลงาน จัดทำเป็นสองส่วน ได้แก่

ส่วนบทวิเคราะห์




ส่วนงานออกแบบ



หุ่นจำลอง มาตราส่วน 1:50









ส่วนประเมินตัวเอง

         จากงานที่ได้รับในครั้งนี้ ได้ทำการค้นคว้าหาข้อมูลมากมาย ทั้งศึกษาแบบบ้านลอยน้ำแบบต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมถึงการทำแพง่ายๆโดยใช้วัสดุที่สามารถทำขึ้นใช้ได้ในสถานการณ์นั้นๆชั่วคราวก่อนได้  แต่ข้อเสียคือ ไม่สามารถนำข้อมูลที่หามามากมาย มาใส่เข้าเป็นรายละเอียดกับงานได้ทั้งหมด ตัวบ้านไม่ค่อยมีรายละเอียด และจุดที่นำเสนอแตกต่างเท่าไหร่  นำเสนอข้อมูลได้ไม่ครบ และไม่ทั่วถึง ไม่ละเอียด