rss
email
twitter
facebook

วันจันทร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2554

PROGRAM: 6.2 || Final Project ||

           
          จุดมุ่งหมายของปฏิบัติการ : เพื่อประมวลความรู้ทั้งหมดที่ได้เรียนมา ฝึกฝนกระบวนการวิเคราะห์และทดลอง เพื่อสร้างสรรค์รูปทรงและที่ว่าง



           จากเทคนิคที่เลือกใช้ ประกอบกับคุณสมบัติของกระดาษนิตยสารสองชนิด พบว่าสามารถขึ้นเป็นรูปทรงได้ แต่กระดาษนิตยสาร B เมื่อถูกเจาะ ทำให้สูญเสียความแข็งแรงไป และเกิดการฉีกขาด ทำให้ไม่สามารถรักษาตำแหน่งโครงเส้นของนิตยสาร A ได้ 

 แบบที่ส่งอาจารย์ไประหว่างตรวจแบบซึ่งเข้าใจผิด
 
           ศึกษาหาวิธีการใหม่ในการขึ้นรูปของกระดาษนิตยสาร โดยหาวิธีการทดลองให้มีความแข็งแรงในการขึ้นรูปมากขึ้น และทำให้วัสดุสามารถยึดกันเองได้ดียิ่งขึ้น
 
           จึงได้ศึกษาการม้วน ของกระดาษนิตยสารใหม่ พบว่า ถ้ากระดาษนิตยสารยิ่งมีขนาดใหญ่ จะทำให้เส้นของกระดาษนิตยสารมีความหนามากขึ้นเท่านั้น ความหนาที่มากเกินไปเกิดข้อกำจัดหลายอย่างในการขึ้นรูปทรง จึงได้ลดขนาดกระดาษลง โดยการตัดครึ่งและพับตัดอีกครั้ง
 
            เมื่อม้วนพบว่าเส้นกระดาษนิตยสารได้ทรงกระบอกที่สั้นลง แต่มีความใหญ่โดยที่ข้างในกลวง สามารถรีดแบนได้

            จากการทดลองคุณสมบัติของวัสดุโดยปรับเปลี่ยนวิธีการม้วนใหม่ ทำให้ได้รูปทรงกระบอกที่มีคุณสมบัติแตกต่างไปจากเดิมจึงเลือกเทคนิคใหม่คือ การสาน
โดยใช้กระดาษนิตยสาร B เนื่องจากมีเนื้อกระดาษที่ฝืดกว่านิตยสาร A สามารถทานแรงและยึดกันซึ่งกันและกันโดยอาศัยความฝืด จึงคิดว่ามีความเหมาะสมมากกว่ากระดาษนิตยสาร A จึงเลือกนำมาใช้ร่วมกับเทคนิคนี้
 
            จากการทดลองพบว่า เกิดพื้นที่ระนาบที่ยึดติดกันค่อนข้างแน่น เนื่องจากกระดาษนิตยสารเืมื่อม้วน จะมีความหนาตรงกลางมากกว่าส่วนปลายทำให้เกิดการขัดกันและดึงกันมากกกว่า กระดาษแบนๆ
แต่ยังพบปัญหาเนื่องจากในการสาน เส้นสุดท้ายจะเป็นเส้นที่ค่อนข้างบางเนื่องจากเป็นส่วนของเส้นส่วนปลาย ทำให้หลุดออกได้ง่าย

             จึงได้ทำการศึกษาเทคนิคการสานแบบต่างๆเิพิ่มเติม และได้ทดลองใช้กระดาษนิตยสารสาน สุดท้ายเลือกดึงระบบของการสานพัดมาลดทอน นำใช้เพื่อเก็บความเรียบร้อยของเส้นไม่ให้หลุดออก อีกทั้งการสานของพัดสามารถเล่นกับรูปทรงของระนาบได้เล็กน้อย สามารถยึดกันได้ดีและแน่นหนามากขึ้น
 


             แต่ระหว่างการทำงาน เกิดปัญหาว่า งานมีขนาดใหญ่เกินไป การสานจึงไม่สามารถรับน้ำหนักได้ทั้งหมดจึงใช้ลวดช่วยในการพยุง ทำให้งานมีีความน่าสนใจลดน้อยลง
             จริงๆแล้ว ควรคิดในเรื่องการลดน้ำหนัก หรือการประคองตัวเองโดยใช้การสาน ไม่ก็เพิ่มความยาวจนงานสามารถโค้งลงมาได้ ทานน้ำหนักซึ่งกันและกัน แต่ในตอนนั้นด้วยเวลาจำกัด และการพัฒนางานช้าเกินไป จึงสามารถทำได้ออกมาในรูปแบบนี้ ซึ่งเราก็ทราบปัญหา ในงานนี้ และรู้จุดที่ควรปรับปรุง ในบทเรียนครั้งนี้ จะนำไปใช้กับงานหน้าต่อไป

PROGRAM: 6.1 || Final Project ||

        
         จุดมุ่งหมายของปฏิบัติการ : เพื่อประมวลความรู้ทั้งหมดที่ได้เรียนมา ฝึกฝนกระบวนการคิดวิเคราะห์และทดลอง เพื่อสร้างสรรค์รูปทรงและที่ว่าง

        ทดลองกับวัสดุหลายๆวัสดุเพื่อค้นหาวัสดุที่สามารถขึ้นรูปทรงและรับน้ำหนักตัวมันเองได้โดยแข็งแรงโดยวัสดุขั้นต้นที่ศึกษาคือ ไพ่กระดาษเคลือบพลาสติก และ ลวด นำ Unit Form มาเชื่อมกันด้วยเทคนิกต่างๆกัน ผูก สาน พับ สอด เกี่ยว ขัด 

กระบวนการศึกษาและพัฒนางาน

       ในตอนแรก ทดลองหาวัสดุที่สนใจและทดลองวิธีการขึ้นรูปตามคุณสมบัติของวัสดุนั้นๆ เนื่องจากพยายามเลี่ยงกระดาษ และวัสดุอื่นๆที่ถูกใช้กันเยอะ จึงเลือกวัสดุที่แปลกออกไป คือ ริบบิ้น ส่วนคู่ำที่ทำงานด้วยเลือกทิชชู่

ริบบิ้น

        ลองขึ้นรูปด้วยริบบิ้นดู พบว่าลักษณะของริบบิ้น สามารถบิด เมื่อบดแล้วสามารถโค้ง งอ นอกจากนี้ยังสามารถพับทบกันเป็นชั้นๆได้ แต่พอข้อเสียว่า มีราคาแพง และยังมีความแข็งแรงน้อยเกินไป

ทิชชู่

        เมื่อบิดแล้วสามารถขึ้นรูปได้เช่นกัน โดยสามารถโค้ง งอ และยึดกันไ้ด้ เกิดพื้นผิวแต่พบว่า เมื่อเวลาเปลี่ยนไปทิชชู่มีีความทนทานต่ำ ทำให้ลู่ลง และไม่สามารถคงรูปด้วยตัวเองได้


       เนื่องจากข้อด้อยทางวัสดุที่กล่าวมา ทำให้เปลี่ยนวัสดุใหม่ัทั้งหมด โดยเลือกเป็นกระดาษนิตยสารที่อ่านแล้ว

 
เลือก ใช้ กระดาษนิตยสาร เนื่องจากเป็นวัสดุที่หาได้ง่าย และเป็นการนำนิตยสารที่ไม่ได้อ่านแล้ว นำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ อีกทั้งยังลดต้นทุนในการทำงานในส่วนของวัสดุอีกด้วย
เมื่อลอง ศึกษาดู พบกว่า กระดาษนิตยสารมีความเหนียว และมีเนื้อกระดาษที่แตกต่างกันไป โดยทำการศึกษานิตสารสองประเภท โดยมีคุณสมบัติต่างกันดังนี้
 
กระดาษนิตยสาร A  มีเนื้อกระดาษมัน และเนื้อกระดาษค่อนข้างบาง
กระดาษนิตยสาร ฺฺB  มีเนื้อกระดาษฝืดกว่านิตยสาร A และเนื้อกระดาษมีความหนา 
 
หลังจากนั้น เมื่อได้ทำการทดสอบความสามารถของกระดาษนิตยสารด้วยกระบวนการต่างๆ โดยนำกระดาษนิตยสารมาม้วนจากปลายสู่ปลายอีกด้าน กลายเป็นรูปทรงกระบอกเป็นเส้นๆ โดยลักษณะของเส้นนั้นจะมีความหนาและแข็งแรงมากตรงกลางเส้น และมีความอ่อนแอตรงส่วนปลายทั้งสองด้าน 
ซึ่งพบว่าสามารถเพิ่ม ความแข็งแรง และความเหนียวให้กับกระดาษนิตยสาร โดยกระดาษนิตยสารสองชนิดมีความสามารถและขีดจำกัดที่แตกต่างกันไปดังนี้
 
               กระดาษ นิตยสาร A เนื่องจากมีเนื้อกระดาษที่บางทำให้เกิดรูปทรงกระบอกที่เล็ก สามารถดัดงอได้เป็นเส้นโค้งต่างๆได้ แต่ไม่สามารถขัดกันได้เนื่องจากเนื้อกระดาษมีความมัน ทำให้ไม่สามารถยึดได้อย่างมีประสิทธิภาพเท่าที่ควร
               กระดาษนิตยสาร B เนื่องจากมีเนื้อกระดาษที่หนาทำให้เกิดรูปทรงกระบอกใหญ่ เนื้อกระดาษมีความแข็งมาก ทำให้ไม่สามารถดัดได้ แต่มีความแข็งแรงสูงมาก และสามารถขัดกันได้ดีเืนื่องจากมีเนื้อกระดาษที่ฝืด

จากการทดสอบ ทำให้พบว่ากระดาษนิตยสารทั้งสองชนิดมีความแตกต่างกันทางความสามารถและข้อจำกัด จึงจำแนกส่วนของการทำงานที่ต่างกันโดย
                กระดาษนิตยสาร A สามารถดัดได้ จึงใช้เส้นดัด และเรียงตัวกันเป็นรูปทรง
                กระดาษนิตยสาร B มีความแข็งแรงมาก ใช้รับน้ำหนักเป็นโครงหลัก

จากนั้นนำกระดาษนิตยสารทั้งสองชนิดมาประกอบกันโดยวิธีการเจาะ โดยเลือกเจาะกระดาษนิตยสาร B และใส่กระดาษนิตยสาร A ที่ดัดเป็นทรงแล้ว รวมกันให้เกิดเป็นรูปร่าง





PROGRAM: 5.3 || Symbolic Meaning / 3-Dimension / Environment ||

          
          จุดมุ่งหมายของปฏิบัติการ: เพื่อให้นิสิตฝึกฝน ออกแบบที่ว่าง จากการศึกษารูปทรงธรรมชาติ และรูปทรงเปิดในสองปฏิบัติการที่ผ่านมา ในลักษณะรูปทรงสื่อความหมายเชิงสัญลักษณ์ และที่ว่างสามมิติ ตลอดการนำความรู้ไปออกแบบสถาปัตยกรรมเบื้องต้น


เลือกสถานที่วาง : โถงไข่

                 พยายามลดความหนักให้กับตัวโมเดล โดยการ ตัดส่วนตรงกลางออกเหลือแต่เส้นสาย ตามหลักการสานของดอกทานตะวันดังเดิม แต่มีการตัดทอนเส้นออกไปบางเส้น เป็นทั้งหมด 4 ตำแหน่ง เพื่อให้คนสามารถ เข้าไปใช้สอยพื้นที่ที่เกิดขึ้นได้มากขึ้น  มีส่วนเว้าลงตรงกลาง ซึ่งล้อกับสถานที่ที่เลือกคือโถงไข่

PROGRAM: 5.2 || Meaning / Open Form / Lighting ||

สืบเนื่องจากปฏิบัติการที่ 5.1: Natural Form/ Meaning & Technique 


       ในปฏิบัติการนี้ จะนำการวิเคราะห์ทั้งหมดที่ได้จาก5.1 มาสร้างเป็นรูปทรงแบบOpen Form โดยสร้างเป็นลักษณะโคมไฟ โดยรูปทรงต้องเอื้ออำนวยต่อการถอดเปลี่ยนหลอดไฟ

      เป็นการพัฒนาต่อยอดมาจาก 5.1 โดยที่นำเอามาทำเป็นโคมไฟ โดยนำลักษณะเด่นๆที่ได้ทำมาใน 5.1 นำมาเพิ่ม Space เพื่อใส่หลอดไฟ และต้องคิดคำนึงถึงความสวยงามของ แสง และ เงาที่จะตกทอด เมื่อเปิดไฟขึ้นมา 





โดยงานนี้พัฒนาจากแนวคิดการเรียงตัวของดอกย่อยวงใน ผ่านการขัดสานยึดกันของเส้นสาย โดยไม่ใช้กาว 


ขณะเปิดไฟ


                เนื่องจากการสาน จะมีช่องว่างเกิดขึ้นไล่เป็นละดับ ไล่ความหนาแน่นจากด้านนอก และจะหนาแน่นน้อยที่สุดของด้านใน ทำให้ด้านในมีแสงออกมามากกว่าด้านรอบนอก ไล่ระดับไปเรื่อยๆ ซึ่งการไล่ระดับของแสงนี้เกิดจากระบบการสาน


PROGRAM: 5.1 || Natural Form / Meaning&Technique ||



        จุดมุ่งหมายของปฏิบัติการ: เพื่อให้นิสิตแสดงความคิดสร้างสรรค์ ฝึกทักษะการสื่อความหมายผ่านการสร้างงานสามมิติ โดยการศึกษารูปทรงธรรมชาติ และรูปทรงเปิด โดยใช้เทคนิกการจัดองค์ประกอบของรูปทรงที่ว่าง และความสัมพันธ์องค์รวมระหว่างองค์ประกอบต่างๆ รวมทั้งฝึกฝนทักษะการออกแบบที่ว่าง จากการวิเคราะห์รูปทรงธรรมชาติ และรูปทรงเปิด

- ทานตะวัน ( Sunflower) -


ศึกษาลักษณะของทานตะวัน
                        ทานตะวันเป็นพืชดอกประเภทช่อดอกแบบช่อกระจุกแน่น มีตำแหน่งของรังไข่อยู่บริเวณเหนือฐานรองดอก  ผล(เมล็ด) เป็นผลกลุ่ม มีการเจริญเติบโตแบบชูใบเลี้ยงโผล่พ้นดิน แบ่งส่วนประกอบของดอกย่อยได้ดังนี้
                       - ดอกย่อยวงนอก : : ลักษณะ สีเหลืองจนถึงส้ม ล้อมรอบดอกย่อยชั้นในโดยซ้อนเรียงกัน  
                                                        เป็นหมัน 
                       - ดอกย่อยวงใน   : :  ลักษณะเล็กๆ เรียงตัวเป็นวง เป็นดอกสมบูรณ์เพศ
                                         

              ในครั้งแรก สนใจรูปแบบของทานตะวันโดยรวมที่แยกส่วนประกอบเป็น ดอกย่อยวงในและดอกย่อยวงนอก แต่พบว่าเป็นการรวมรูปแบบที่่ค่อนข้างหลากหลาย ทำให้ดูไม่มีจุดเด่นในองค์รวม



ศึกษาเพิ่มเติมจากโครงสร้างดอกย่อยวงในพบว่า มีการเรียงตัวของเส้นสายที่น่าสนใจ

การเรียงตัวของเส้นสายของดอกย่อยวงใน


เนื่องจากสนใจการเรียงตัวของดอกย่อยวงใน จึงได้ดึงระบบของเส้นสายของดอกย่อยวงในออกมาเป็นจุดเรียงตัวตามวงๆ


จึงสรุปออกมาแยกได้เป็นสองโมเดลตัวอย่างดังนี้



MODEL1



MODEL2 : ไม่มีรูปภาพ

แนวคิด : แสดงถึงการเรียงตัวของดอกย่อยวงใน ผสมกับรูปแบบของตัวดอกทานตะวัน

เป็นงานที่เกิดจากการสาน โดยอาศัยเส้นของการเรียงตัว ขัดทับกันเรียงตัวไปเรื่อยๆตามจำนวนเส้น งานนี้ไม่ต้องใช้กาว ก็สามารถยึดอยู่ได้ด้วยตัวเอง แต่ตัวงานยังมีความเป็นระนาบอยู่




PROGRAM: 3.2 || Color & modern Art ||

           
      วัตถุประสงค์ของปฏิบัติการ: เพื่อให้นิสิตเข้าใจในเรื่องทฤษฎีสี การสร้างงานศิลปะยุคสมัยต่างๆของศิลปะสมัยใหฒ่(Modern Art) และสามารถสื่อความหมายเป็นผลงานศิลปะ2มิติได้ โดยให้นิสิตออกแบบทัศนศิลป์สองมิติ

- มีสถาปัตยกรรมต้นแบบเป็น สถาปัตยกรรมของ Frank Lloyd Wright -

เทคนิคที่ใช้ : สีโปสเตอร์ บนกระดาษร้อยปอนด์

Impressionism

         อิมเพรสชั่นนิสม์ คือ ลักษณะของภาพวาดแบบอิมเพรสชันนิสม์ คือ การใช้พู่กันตวัดสีอย่างเข้ม ๆ ซึ่งได้ให้ภาพที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติและมีชีวิตชีวา พื้นผิวของภาพวาดนั้นมักจะเกิดจากการระบายสีแบบหนา ๆ

 Cubism
         บาศกนิยม คือ ลักษณะของภาพวาดนั้นมีตัดทอนรูปวัตถุหรือผู้คนออกเป็นรูปเรขาคณิต การจัดองค์ประกอบต่างๆของภาพนั้น ผสานองค์ประกอบใหม่ที่สร้างการลวงตาในรูปแบบที่แตกต่างจากเดิม






PROGRAM: 3.1 || The Meaning of Nature's Colors ||

สีของสรรพสิ่งในธรรมชาติ

                   จุดมุ่งหมายของปฏิบัติการ: เพื่อให้นิสิตเข้าใจในเรื่องทฤษฎีสี เทคนิกน้ำหนักความสว่างของสี(Lightness-Color Value) เทคนิกการลดความสดของสี (Saturation-Intensity) และโครงสี(Color Scheme) พร้อมทั้งฝึกทักษะในการใช้สี และรู้จักประยุกต์ใช้สีที่มีในธรรมชาติมาใช้ในการออกแบบ


        ใช้ทฤษฎีโครงสี เป็นสี monochrome ใช้เทคนิคลดความสดของสี 

 (ซึ่งงานนี้ผิด ; ;)

-------------------------------------------------------------------------------------------------

ยอมรับว่างานนี้รีบทำค่อนข้างมากคะ เพราะชนกับงาน Wood con อันมหาศาลพอดิบพอดี
ก็รู้สึกโอเคค่ะ ได้เท่านี้ก็ดีแล้ว แต่งานผิด นั่นน่ะ ช่างหน้าเศร้าค่ะ