จุดมุ่งหมายของปฏิบัติการ : เพื่อประมวลความรู้ทั้งหมดที่ได้เรียนมา ฝึกฝนกระบวนการคิดวิเคราะห์และทดลอง เพื่อสร้างสรรค์รูปทรงและที่ว่าง
ทดลองกับวัสดุหลายๆวัสดุเพื่อค้นหาวัสดุที่สามารถขึ้นรูปทรงและรับน้ำหนักตัวมันเองได้โดยแข็งแรงโดยวัสดุขั้นต้นที่ศึกษาคือ ไพ่กระดาษเคลือบพลาสติก และ ลวด นำ Unit Form มาเชื่อมกันด้วยเทคนิกต่างๆกัน ผูก สาน พับ สอด เกี่ยว ขัด
กระบวนการศึกษาและพัฒนางาน
ในตอนแรก ทดลองหาวัสดุที่สนใจและทดลองวิธีการขึ้นรูปตามคุณสมบัติของวัสดุนั้นๆ เนื่องจากพยายามเลี่ยงกระดาษ และวัสดุอื่นๆที่ถูกใช้กันเยอะ จึงเลือกวัสดุที่แปลกออกไป คือ ริบบิ้น ส่วนคู่ำที่ทำงานด้วยเลือกทิชชู่
ริบบิ้น
ลองขึ้นรูปด้วยริบบิ้นดู พบว่าลักษณะของริบบิ้น สามารถบิด เมื่อบดแล้วสามารถโค้ง งอ นอกจากนี้ยังสามารถพับทบกันเป็นชั้นๆได้ แต่พอข้อเสียว่า มีราคาแพง และยังมีความแข็งแรงน้อยเกินไป
ทิชชู่
เมื่อบิดแล้วสามารถขึ้นรูปได้เช่นกัน โดยสามารถโค้ง งอ และยึดกันไ้ด้ เกิดพื้นผิวแต่พบว่า เมื่อเวลาเปลี่ยนไปทิชชู่มีีความทนทานต่ำ ทำให้ลู่ลง และไม่สามารถคงรูปด้วยตัวเองได้
เนื่องจากข้อด้อยทางวัสดุที่กล่าวมา ทำให้เปลี่ยนวัสดุใหม่ัทั้งหมด โดยเลือกเป็นกระดาษนิตยสารที่อ่านแล้ว
กระบวนการศึกษาและพัฒนางาน
ในตอนแรก ทดลองหาวัสดุที่สนใจและทดลองวิธีการขึ้นรูปตามคุณสมบัติของวัสดุนั้นๆ เนื่องจากพยายามเลี่ยงกระดาษ และวัสดุอื่นๆที่ถูกใช้กันเยอะ จึงเลือกวัสดุที่แปลกออกไป คือ ริบบิ้น ส่วนคู่ำที่ทำงานด้วยเลือกทิชชู่
ริบบิ้น
ลองขึ้นรูปด้วยริบบิ้นดู พบว่าลักษณะของริบบิ้น สามารถบิด เมื่อบดแล้วสามารถโค้ง งอ นอกจากนี้ยังสามารถพับทบกันเป็นชั้นๆได้ แต่พอข้อเสียว่า มีราคาแพง และยังมีความแข็งแรงน้อยเกินไป
ทิชชู่
เมื่อบิดแล้วสามารถขึ้นรูปได้เช่นกัน โดยสามารถโค้ง งอ และยึดกันไ้ด้ เกิดพื้นผิวแต่พบว่า เมื่อเวลาเปลี่ยนไปทิชชู่มีีความทนทานต่ำ ทำให้ลู่ลง และไม่สามารถคงรูปด้วยตัวเองได้
เนื่องจากข้อด้อยทางวัสดุที่กล่าวมา ทำให้เปลี่ยนวัสดุใหม่ัทั้งหมด โดยเลือกเป็นกระดาษนิตยสารที่อ่านแล้ว
เลือก ใช้ กระดาษนิตยสาร เนื่องจากเป็นวัสดุที่หาได้ง่าย และเป็นการนำนิตยสารที่ไม่ได้อ่านแล้ว นำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ อีกทั้งยังลดต้นทุนในการทำงานในส่วนของวัสดุอีกด้วย
เมื่อลอง ศึกษาดู พบกว่า กระดาษนิตยสารมีความเหนียว และมีเนื้อกระดาษที่แตกต่างกันไป โดยทำการศึกษานิตสารสองประเภท โดยมีคุณสมบัติต่างกันดังนี้
กระดาษนิตยสาร A มีเนื้อกระดาษมัน และเนื้อกระดาษค่อนข้างบาง
กระดาษนิตยสาร ฺฺB มีเนื้อกระดาษฝืดกว่านิตยสาร A และเนื้อกระดาษมีความหนา
หลังจากนั้น เมื่อได้ทำการทดสอบความสามารถของกระดาษนิตยสารด้วยกระบวนการต่างๆ โดยนำกระดาษนิตยสารมาม้วนจากปลายสู่ปลายอีกด้าน กลายเป็นรูปทรงกระบอกเป็นเส้นๆ โดยลักษณะของเส้นนั้นจะมีความหนาและแข็งแรงมากตรงกลางเส้น และมีความอ่อนแอตรงส่วนปลายทั้งสองด้าน
ซึ่งพบว่าสามารถเพิ่ม ความแข็งแรง และความเหนียวให้กับกระดาษนิตยสาร โดยกระดาษนิตยสารสองชนิดมีความสามารถและขีดจำกัดที่แตกต่างกันไปดังนี้
กระดาษ นิตยสาร A เนื่องจากมีเนื้อกระดาษที่บางทำให้เกิดรูปทรงกระบอกที่เล็ก สามารถดัดงอได้เป็นเส้นโค้งต่างๆได้ แต่ไม่สามารถขัดกันได้เนื่องจากเนื้อกระดาษมีความมัน ทำให้ไม่สามารถยึดได้อย่างมีประสิทธิภาพเท่าที่ควร
กระดาษนิตยสาร B เนื่องจากมีเนื้อกระดาษที่หนาทำให้เกิดรูปทรงกระบอกใหญ่ เนื้อกระดาษมีความแข็งมาก ทำให้ไม่สามารถดัดได้ แต่มีความแข็งแรงสูงมาก และสามารถขัดกันได้ดีเืนื่องจากมีเนื้อกระดาษที่ฝืด
จากการทดสอบ ทำให้พบว่ากระดาษนิตยสารทั้งสองชนิดมีความแตกต่างกันทางความสามารถและข้อจำกัด จึงจำแนกส่วนของการทำงานที่ต่างกันโดย
กระดาษนิตยสาร A สามารถดัดได้ จึงใช้เส้นดัด และเรียงตัวกันเป็นรูปทรง
กระดาษนิตยสาร B มีความแข็งแรงมาก ใช้รับน้ำหนักเป็นโครงหลัก
จากนั้นนำกระดาษนิตยสารทั้งสองชนิดมาประกอบกันโดยวิธีการเจาะ โดยเลือกเจาะกระดาษนิตยสาร B และใส่กระดาษนิตยสาร A ที่ดัดเป็นทรงแล้ว รวมกันให้เกิดเป็นรูปร่าง
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น