จุดมุ่งหมายของปฏิบัติการ : เพื่อประมวลความรู้ทั้งหมดที่ได้เรียนมา ฝึกฝนกระบวนการวิเคราะห์และทดลอง เพื่อสร้างสรรค์รูปทรงและที่ว่าง
จากเทคนิคที่เลือกใช้ ประกอบกับคุณสมบัติของกระดาษนิตยสารสองชนิด พบว่าสามารถขึ้นเป็นรูปทรงได้ แต่กระดาษนิตยสาร B เมื่อถูกเจาะ ทำให้สูญเสียความแข็งแรงไป และเกิดการฉีกขาด ทำให้ไม่สามารถรักษาตำแหน่งโครงเส้นของนิตยสาร A ได้
แบบที่ส่งอาจารย์ไประหว่างตรวจแบบซึ่งเข้าใจผิด
ศึกษาหาวิธีการใหม่ในการขึ้นรูปของกระดาษนิตยสาร โดยหาวิธีการทดลองให้มีความแข็งแรงในการขึ้นรูปมากขึ้น และทำให้วัสดุสามารถยึดกันเองได้ดียิ่งขึ้น
จึงได้ศึกษาการม้วน ของกระดาษนิตยสารใหม่ พบว่า ถ้ากระดาษนิตยสารยิ่งมีขนาดใหญ่ จะทำให้เส้นของกระดาษนิตยสารมีความหนามากขึ้นเท่านั้น ความหนาที่มากเกินไปเกิดข้อกำจัดหลายอย่างในการขึ้นรูปทรง จึงได้ลดขนาดกระดาษลง โดยการตัดครึ่งและพับตัดอีกครั้ง
เมื่อม้วนพบว่าเส้นกระดาษนิตยสารได้ทรงกระบอกที่สั้นลง แต่มีความใหญ่โดยที่ข้างในกลวง สามารถรีดแบนได้
จากการทดลองคุณสมบัติของวัสดุโดยปรับเปลี่ยนวิธีการม้วนใหม่ ทำให้ได้รูปทรงกระบอกที่มีคุณสมบัติแตกต่างไปจากเดิมจึงเลือกเทคนิคใหม่คือ การสาน
โดยใช้กระดาษนิตยสาร B เนื่องจากมีเนื้อกระดาษที่ฝืดกว่านิตยสาร A สามารถทานแรงและยึดกันซึ่งกันและกันโดยอาศัยความฝืด จึงคิดว่ามีความเหมาะสมมากกว่ากระดาษนิตยสาร A จึงเลือกนำมาใช้ร่วมกับเทคนิคนี้
จากการทดลองพบว่า เกิดพื้นที่ระนาบที่ยึดติดกันค่อนข้างแน่น เนื่องจากกระดาษนิตยสารเืมื่อม้วน จะมีความหนาตรงกลางมากกว่าส่วนปลายทำให้เกิดการขัดกันและดึงกันมากกกว่า กระดาษแบนๆ
แต่ยังพบปัญหาเนื่องจากในการสาน เส้นสุดท้ายจะเป็นเส้นที่ค่อนข้างบางเนื่องจากเป็นส่วนของเส้นส่วนปลาย ทำให้หลุดออกได้ง่าย
จึงได้ทำการศึกษาเทคนิคการสานแบบต่างๆเิพิ่มเติม และได้ทดลองใช้กระดาษนิตยสารสาน สุดท้ายเลือกดึงระบบของการสานพัดมาลดทอน นำใช้เพื่อเก็บความเรียบร้อยของเส้นไม่ให้หลุดออก อีกทั้งการสานของพัดสามารถเล่นกับรูปทรงของระนาบได้เล็กน้อย สามารถยึดกันได้ดีและแน่นหนามากขึ้น
แต่ระหว่างการทำงาน เกิดปัญหาว่า งานมีขนาดใหญ่เกินไป การสานจึงไม่สามารถรับน้ำหนักได้ทั้งหมดจึงใช้ลวดช่วยในการพยุง ทำให้งานมีีความน่าสนใจลดน้อยลง
จริงๆแล้ว ควรคิดในเรื่องการลดน้ำหนัก หรือการประคองตัวเองโดยใช้การสาน ไม่ก็เพิ่มความยาวจนงานสามารถโค้งลงมาได้ ทานน้ำหนักซึ่งกันและกัน แต่ในตอนนั้นด้วยเวลาจำกัด และการพัฒนางานช้าเกินไป จึงสามารถทำได้ออกมาในรูปแบบนี้ ซึ่งเราก็ทราบปัญหา ในงานนี้ และรู้จุดที่ควรปรับปรุง ในบทเรียนครั้งนี้ จะนำไปใช้กับงานหน้าต่อไป
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น