rss
email
twitter
facebook

วันจันทร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2554

PROGRAM: 5.1 || Natural Form / Meaning&Technique ||



        จุดมุ่งหมายของปฏิบัติการ: เพื่อให้นิสิตแสดงความคิดสร้างสรรค์ ฝึกทักษะการสื่อความหมายผ่านการสร้างงานสามมิติ โดยการศึกษารูปทรงธรรมชาติ และรูปทรงเปิด โดยใช้เทคนิกการจัดองค์ประกอบของรูปทรงที่ว่าง และความสัมพันธ์องค์รวมระหว่างองค์ประกอบต่างๆ รวมทั้งฝึกฝนทักษะการออกแบบที่ว่าง จากการวิเคราะห์รูปทรงธรรมชาติ และรูปทรงเปิด

- ทานตะวัน ( Sunflower) -


ศึกษาลักษณะของทานตะวัน
                        ทานตะวันเป็นพืชดอกประเภทช่อดอกแบบช่อกระจุกแน่น มีตำแหน่งของรังไข่อยู่บริเวณเหนือฐานรองดอก  ผล(เมล็ด) เป็นผลกลุ่ม มีการเจริญเติบโตแบบชูใบเลี้ยงโผล่พ้นดิน แบ่งส่วนประกอบของดอกย่อยได้ดังนี้
                       - ดอกย่อยวงนอก : : ลักษณะ สีเหลืองจนถึงส้ม ล้อมรอบดอกย่อยชั้นในโดยซ้อนเรียงกัน  
                                                        เป็นหมัน 
                       - ดอกย่อยวงใน   : :  ลักษณะเล็กๆ เรียงตัวเป็นวง เป็นดอกสมบูรณ์เพศ
                                         

              ในครั้งแรก สนใจรูปแบบของทานตะวันโดยรวมที่แยกส่วนประกอบเป็น ดอกย่อยวงในและดอกย่อยวงนอก แต่พบว่าเป็นการรวมรูปแบบที่่ค่อนข้างหลากหลาย ทำให้ดูไม่มีจุดเด่นในองค์รวม



ศึกษาเพิ่มเติมจากโครงสร้างดอกย่อยวงในพบว่า มีการเรียงตัวของเส้นสายที่น่าสนใจ

การเรียงตัวของเส้นสายของดอกย่อยวงใน


เนื่องจากสนใจการเรียงตัวของดอกย่อยวงใน จึงได้ดึงระบบของเส้นสายของดอกย่อยวงในออกมาเป็นจุดเรียงตัวตามวงๆ


จึงสรุปออกมาแยกได้เป็นสองโมเดลตัวอย่างดังนี้



MODEL1



MODEL2 : ไม่มีรูปภาพ

แนวคิด : แสดงถึงการเรียงตัวของดอกย่อยวงใน ผสมกับรูปแบบของตัวดอกทานตะวัน

เป็นงานที่เกิดจากการสาน โดยอาศัยเส้นของการเรียงตัว ขัดทับกันเรียงตัวไปเรื่อยๆตามจำนวนเส้น งานนี้ไม่ต้องใช้กาว ก็สามารถยึดอยู่ได้ด้วยตัวเอง แต่ตัวงานยังมีความเป็นระนาบอยู่




0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น